15 ข้อคิดดีดีเหล่านี้ ทำก่อนอายุ 45 มีกินมีใช้ทั้งชีวิต

1. เก็บเงินล้านบาทแรกให้ได้ แล้วล้านต่อไปจะง่าย
คำกล่าวนี้จริง เพร าะพอเราเรียนรู้วิธีการบริหารเงินที่ถูกต้องจนมีล้านบาทแรกได้
แล้วล้านต่อไปไม่ใช่เรื่องย ากมากนัก ประกอบกับเรามีทุนล้านแรกเอาไปต่อยอดความมั่งคั่ง
2. จงเก็บเงินโบนัสไว้ให้ดี
มันเป็นเงินก้อนที่เอาไปลงทุนได้ ควรให้รางวัลตัวเองในแต่ละปีไม่เกิน 30 % ของเงินโบนัส
แล้วในส่วนที่เหลือเก็บเอาไปลงทุน ทำเช่นนี้ได้เราจะมีความสุข ในการเก็บเงินมากกว่าใช้เงินไงล่ะ
3. ออมเงินตั้งแต่อายุยังน้อย
อยู่ที่ควบคุมความอย ากของตนเอง โดยทยอยซื้อของชิ้นใหญ่ อย่าซื้อทีเดียวติด ๆ กัน เช่น โทรศัพท์มือถือ
แพคเกจเที่ยวและรถยนต์ ให้เว้นช่วงห่าง ๆ กัน เพ ราะความอย ากของคนเราไม่มีที่สิ้นสุด
เราควรซื้อของที่มีโอกาสได้ใช้จริง ของที่ไม่คิดจะใช้ก็อย่าไปซื้อมัน
4. จงเลือกทำงานที่ตนเองชอบและถนัด
การหาจุดยืนที่เหมาะสมกับตัวเอง มันช่วยทำให้เงินเดือนและตำแหน่งเติบโตได้เร็ว
ที่สำคัญควรเลือกทำงานกับเจ้านายฉลาด ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เราก้าวหน้าได้เร็วขึ้น
5. หัดลงทุนเพื่อให้มีรายได้เสริมอยู่เสมอ
อนาคตอาจกลายเป็นรายได้หลักก็ได้ เช่น ลงทุนในหุ้น กองทุนรวมตราสาร ทุนทอง คอนโด และขายของออนไลน์
ก่อนลงทุนต้องศึกษาให้รู้ก่อน และจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
6. ลดค่าใช้จ่ายที่ทำได้ง่ายและเห็นผลจริง
สิ่งแรกทำเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อลดดอกเบี้ย มาตรการสองเปลี่ยนเคเบิลเป็นแบบไม่มีค่ารายเดือน มันช่วยประหยัดไปปีละแสนบาทเลยล่ะ
7. ใช้บัตรเครดิตเป็นเครื่องมือลดค่าใช้จ่ายให้กับเรา
อย่าใช้จ่ายเกินตัว สาเหตุที่แนะนำจ่ายด้วยบัตรเครดิตเพ ราะได้ส่วนลด คะแนนสะสมได้เงินคืนกลับมา
ดีกว่าการใช้เงินสด ผมใช้บัตรเครดิตหลายใบ โดยชำระเต็มจำนวน และเลือกใช้บัตรที่ให้ส่วนลดมากที่สุด
8. เริ่มบันทึกการเติบโตของทรัพย์สินและรายได้ทุก ๆ ปี
การบันทึกช่วยให้เราเห็นจุดบกพร่องว่าควรปรับปรุงส่วนไหน และใช้กำหนดแนวทางไปสู่เป้าหมาย
ได้แก่ การเติบโตของรายได้ การเติบโตของทรัพย์สิน และผลตอบแทนจากการลงทุน เพื่อให้บรรลุอิสรภาพทางการเงิน
9. ออมเงินแบบอื่นนอกจากฝากเงินธนาคาร
การออมเงินทางเลือก ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้กองทุนรวม และประกันชีวิต เป็นต้น
อย ากแนะนำให้ลอง เพ ราะผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ถึงเป้าหมายได้ไว
10. ระวังวิกฤติเศรษฐกิจให้ดี
เช่น วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้คนรวยจนลงในพริบตา
ความรู้เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เข้าใจวงจรเศรษฐกิจที่มีทั้งเติบโตและตกต่ำสลับกันตลอด
การสังเกตดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ มันช่วยให้ลงทุนถูกจังหวะและความเสี่ยงไม่สูง
11. จงเลือกทรัพย์สินที่ไม่ใช่การลงทุนให้ดี
เช่น บ้านและรถยนต์ที่เราใช้อยู่ เพ ราะไม่ได้เปลี่ยนกันบ่อย ๆ มันถือว่าเป็นต้นทุนจมจนกว่าขายออกไป
เราควรเลือกบ้านในทำเลดี ราคาคุ้มค่า อีกอย่างคือไปทำงานสะดวก โดยไปเยี่ยมชมโครงการมาไม่น้อยกว่า 50 แห่ง
ก่อนตัดสินใจซื้อ เลือกรถรุ่นที่เป็นที่นิยมของตลาด คุ้มค่าและไม่เสียบ่อย
12. เรียนรู้การลงทุนโดยใช้เงินผู้อื่น
เช่น การกู้เงินซื้อคอนโด เราจะได้กำไรมากจากเงินลงทุนน้อย เช่น ผมลงทุนคอนโดย่านพระราม 9
ซื้อไว้เมื่อ 5ปีก่อนราคา 1.8 ล้าน โดยใช้เงินตนเอง 2 แสน ที่เหลือกู้ธนาคารผ่อนจ่ายเดือนละหมื่นบาท
ปล่อยเช่ามาตลอดได้เดือนละ 1.4 หมื่นบาท แล้วปัจจุบันที่ขายกันในเว็บไซต์ราคา 2.8 ล้านบาท
หากขายไปจะได้กำไรประมาณ 1 ล้าน และได้กำไรจากส่วนต่างค่าเช่ากับยอดผ่อนอีกด้วยนะ
13. เรียนรู้จากการลงทุนของเราที่ผิดพลาด
ทุกคนที่เคยลงทุนต้องเคยข าดทุนเป็นเรื่องปกติ อาจเคยติดหุ้นวงในมาเกือบสิบปี เพิ่งจะขายได้
ไม่ต้องเลิกลงทุนในหุ้น แต่จะเลิกเล่นหุ้นในแบบที่เคยเจ็บมาก่อน
14. ศึกษาหาความรู้การเงินให้สม่ำเสมอ
ความรู้หาได้จากหนังสือหรือเข้าอบรมเว็บบอร์ด แฟนเพจ ยูทูบ และเพื่อน ๆ
ช่องทางเข้าถึงความรู้มีมากมาย ทำให้เรามีความรู้ลึกซึ้งมากขึ้นในปัจจุบันนี้
15. จงเลือกนำเงินไปลงทุนเฉพาะเงินเย็น
การลงทุนต้องใช้เวลาและมีโอกาสข าดทุน และถ้าข าดทุนจริงเราจะได้ไม่เดือดร้อนมากนัก
ควรกำหนดเงินสดขั้นต่ำ ที่เอาไว้ใช้จ่ายอย่างน้อย 12 เดือน ส่วนที่เหลือก็เอาไปลงทุนได้
สักวันหนึ่งการมีอิสรภาพทางการเงินต้องเกิดขึ้น การอย ากจะทำอะไรก็ได้ที่เราอย ากทำ
โดยที่ยังมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอแม้ไม่ต้องทำงาน เชื่อว่าทุกคนทำได้